วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหา “การพัฒนาวิชาชีพครู:สาระสำคัญที่ควรทราบ”

การพัฒนาวิชาชีพครู :  สาระสำคัญที่ควรทราบ
ครู หมายความว่า บุคคลวิชาชีพที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน (พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  : มาตรา 4)


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ที่มีผลกระทบต่อครู

1. ครูในอนาคต  ต้องเป็นตัวอย่างของผู้ที่ได้รับการศึกษา (มาตรา 6 , มาตรา 7)
2. ครูในอนาคต  ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่าง-ต่อเนื่อง   (มาตรา 8 , มาตรา 25 , มาตรา 30)
3. ครูในอนาคต  ต้องปฏิบัติงานตามาตรฐานวิชาชีพครู  (มาตรา 9(4))
4. ครูในอนาคต  ต้องจัดการศึกษาพื้นฐานได้  (มาตรา 10)
5. ครูในอนาคต  ต้องมีความสามารถในการสอนผู้เรียนหลายประเภท (มาตรา 10)
6. ครูในอนาคต  ต้องปฏิบัติงานได้ใน 3 ระบบการศึกษา  (มาตรา 15)
7. ครูในอนาคต  จะต้องปฏิบัติงานได้ในสถานศึกษาต่าง ๆ  ( มาตรา 18)
8. ครูในอนาคต  ส่วนหนึ่งต้องจัดการอาชีวศึกษา    โดยให้ความร่วมมือ กับสถานประกอบการ   (มาตรา 20)
9. ครูในอนาคต  ต้องจัดการศึกษาโดยถือผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (มาตรา 22)
10. ครูในอนาคต  จะต้องจัดให้มีการเรียนรู้และทักษะต่าง ๆ   (มาตรา 22)
11. ครูในอนาคต  จะต้องจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  (มาตรา 24)
12. ครูในอนาคต  ต้องสามารถประเมินผู้เรียน  (มาตรา 26)
13. ครูในอนาคต  ต้องสามารถจัดทำสาระของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มาตรา 27)
14. ครูในอนาคต  จะต้องช่วยให้ชุมชนได้มีการเรียนรู้  (มาตรา 29)
15. ครูในอนาคต  ต้องมีคุณภาพและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 52 , มาตรา 53)
16. ครูในอนาคต  จะได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนที่เหมาะสม  (มาตรา 55)
17. ครูในอนาคต  จะได้รับการพัฒนาและการเชิดชูเกียรติ (มาตรา 52 , มาตรา 55)

แนวความคิดการพัฒนาวิชาชีพครู
  1. คุณภาพของผลผลิตและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เป็นเครื่องชี้  ความสำเร็จของวิชาชีพ
  2. การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยการพัฒนางานในภาวะปกติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ     จะส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตได้ตามเป้าหมาย
  3. การพัฒนางานที่เป็นการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเรียนรู้ หลักการ วิธีการ และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในงานอาชีพ และนำมาใช้ในงานเพื่อค้นหาความรู้ สร้างความรู้ใหม่ในวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
  4. ครูที่สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และ เป็นไปตามมาตรฐาน ควรได้รับผลตอบแทนสอดคล้องกับระดับมาตรฐานคุณภาพงานที่ปฏิบัติ
  5. การพัฒนาวิชาชีพครู เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของครูทุก ๆ คน  เพื่อสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2537 (คุรุสภา)

มาตรฐานที่  1    ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่  2     ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
มาตรฐานที่  3     มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่  4     พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่  5     พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่  6     จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่  7     รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่  8     ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่  9     ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่  10   ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่  11   แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่  12   สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์   (ออกใหม่)


แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 (คุรุสภา)

จรรยาบรรณข้อที่  1    ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์ โดยเสมอหน้า
จรรยาบรรณข้อที่  2     ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้อง ดีงาม ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความ-สามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
จรรยาบรรณข้อที่  3     ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และใจ
จรรยาบรรณข้อที่  4     ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
จรรยาบรรณข้อที่  5     ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามปกติ และไม่ให้ศิษย์กระทำ-การใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
จรรยาบรรณข้อที่  6     ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณข้อที่  7     ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพครู
จรรยาบรรณข้อที่  8     ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
จรรยาบรรณข้อที่  9     ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

มาตรฐานวิทยฐานะครู (สปศ.)

  1. ครูปฏิบัติการ ต้องจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีที่หลากหลาย แต่ยังต้องอาศัยคำแนะนำเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ
  2. ครูชำนาญการ ต้องมีการศึกษาวิจัยพัฒนาหลักสูตรโดยวิทยาการใหม่ ๆ วิเคราะห์ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ พัฒนาตนองค์กร และ ทำงานเป็นทีม
  3. ครูเชี่ยวชาญ ต้องคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  มาพัฒนา พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่เพื่อนครูได้ พัฒนานักเรียนให้เกิดผลโดยตรงต่อครอบครัว ทำงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง 
  4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ เป็นผู้นำและสร้างผู้นำในการคิดนวัตกรรมมาพัฒนาหลักสูตร   กระบวนการเรียนการสอน สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้อ้างอิงได้ เป็นผู้นำในการแก้ปัญหา และวางระบบป้องกันปัญหา
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (สปศ.)

1.   คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ครูประจำการ)
1.1      มีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ สาขาอื่นที่ ก.ค. รับรอง
1.2      มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 2 ปี

       หากครูท่านใดมีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ 1.1 , 1.2    ต้องพัฒนาตนเองภายใน5 ปี    (นับจากมีการตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา)         ให้ได้ปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ สาขาอื่นที่ ก.ค. รับรอง  หรือ ผ่านการประเมินประสบการณ์ หรือ ผลงานเทียบเคียงปริญญาตรี

2.    แนวทางการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ครู ประจำการที่ปฏิบัติงานสอนก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้   และ มีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู    ให้ยื่นเรื่องพร้อมหลักฐานเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู   ดังนี้
2.1    เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา
2.2    หลักฐานที่สถานศึกษารับรองประสบการณ์การสอนของครู
2.3    ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน (ในกรณีที่ต้องมี)
2.4    วุฒิบัตรการฝึกอบรมที่สภาครูและบุคลากรทางการศึกษารับรอง
2.5    หลักฐานอื่น ๆ กรณีที่ใช้ประกอบการขอเทียบประสบการณ์และผลงาน (สำหรับผู้ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี) ทั้งนี้ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ ผู้บังคับบัญชาที่สังกัด ตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐาน แล้วรวบรวมเสนอต่อสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูต่อไป

3. แนวทางการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
3.1      เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่สภาครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
3.2      เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการพัฒนาหรือผลการพัฒนาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
3.3      เป็นผู้ที่ประพฤติตนไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3.4      เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมาตรฐาน หรือ จรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างร้ายแรงและอยู่ระหว่างการสอบสวน แต่ยังไม่มีข้อยุติ

4. แนวทางการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
4.1      เป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
4.2      เป็นเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง
4.3      เป็นผู้ที่ไม่เข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือ ผลการพัฒนาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนด และ ส่งผลเสียหายต่อการประกอบวิชาชีพครูอย่างร้ายแรง
4.4      เป็นผู้ที่ประพฤติตนผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างร้ายแรงจนมิอาจให้ปฏิบัติวิชาชีพอีกต่อไป


องค์ประกอบของวิชาชีพชั้นสูง
  1. เป็นงานที่ใช้ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และเป็นงานที่ใช้สติปัญญา
  2. มีจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นแบบแผนการปฏิบัติงาน
  3. มีองค์กรรับผิดชอบกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
  4. มีสถานภาพในสังคมสูง ได้รับการยกย่องนับถือ
เงื่อนไขของวิชาชีพ “ครู”
  1. ได้รับการศึกษาอบรมเป็นพิเศษ
  2. มีจรรยาบรรณครู
  3. มีมาตรฐานวิชาชีพครู
  4. มีมาตรฐานวิทยาฐาน
  5. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
  6. มีองค์กรวิชาชีพกำกับ
  7. มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา (สปศ.)

สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  เป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ อยู่ในกำกับของกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ เป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ   ออกใบพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ คณะกรรมการสภาครุและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย กรรมการผู้แทนองค์กร  8  คน     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  7  คน    และ    กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพ  12  คน   รวมคณะกรรมการทั้งสิ้น  27  คน


หลักประกันคุณภาพครู
  1. สถาบันผลิตครู ทำหน้าที่ผลิตครูใหม่ที่มีคุณภาพ และมีความรักในวิชาชีพ
  2. สถาบันพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์ ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นครูประจำการ
  3. องค์กรบริหารงานบุคคล ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่  และสถานศึกษา
  4. องค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่รักษามาตรฐาน-วิชาชีพและจรรยาบรรณครู

บทบาทของครูในการปฏิรูปการสอนและการเรียนรู้
  1. ศึกษามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร
  2. ศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  3. เขียนแผนการสอน
  4. ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการสอน
  5. บันทึกและเก็บหลักฐานเกี่ยวกับการสอนไว้ในแฟ้มสะสมงานครู

การปฏิรูปการสอนของครู
  1. ศึกษามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร
  2. กำหนดเป้าหมาย  วางแผนการสอน
  3. นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้
  4. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
  5. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อการเรียน
  6. ดำเนินการสอน  ดูแลกระบวนการเรียนรู้  กระตุ้นให้ปฏิบัติ  ให้คำแนะนำ
  7. เสริมความรู้ให้ผู้เรียนและส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  8. ประเมินผลการสอน
  9. วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
  10. บันทึกสรุปผลการสอน

ครูในอนาคต
  1. ต้องสอน
  2. ต้องมีแผนการสอน
  3. ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
  4. ต้องมีผลงานในวิชาชีพพร้อมรับการประเมินคุณภาพ
ครูยุคปฏิรูปการศึกษา
  1. มีความรู้เนื้อหาสาระที่เหมาะสม ทันสมัย
  2. มีทักษะการถ่ายทอดความรู้
  3. มีทักษะมนุษย์
  4. มีวิญญาณครู   รักความเป็นครู
  5. มีเมตตาต่อศิษย์
  6. มีความสนใจสื่อและเทคโนโลยี
  7. มีความสนใจพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

การเตรียมตัวของครูในอนาคต
  1. ปฏิบัติตนตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและจรรยาบรรณครู (ต้องประเมินตนเองอยู่เสมอและประเมินอย่างเข้มงวด)
  2. การพัฒนาการเรียนการสอน (ต้องทำแผนการสอน)
  3. การเก็บรวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงานให้เป็นระบบ(ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานครู)
การประเมินตนเองของครู
  1. ประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพครู ( 12 มาตรฐาน)
  2. ประเมินตามจรรยาบรรณครู ( 9 ข้อ)
  3. ประเมินตามมาตรฐานวิทยฐานะครู ( 4 ระดับคุณภาพ)
บทบาทของครูในการประกันคุณภาพการศึกษา
  1. ปฏิรูปการสอน
  2. ปฏิรูปการเรียนรู้
  3. ปฏิรูปการบริหารงาน
  4. ประเมินตนเอง
  5. ประกันคุณภาพภายใน
  6. ประกันคุณภาพภายนอก
http://educ105.wordpress.com